บันไดสีน้ำตาล

broads-stairs

อุปกรณ์    

  • ปริซึมไม้สิบแท่ง ที่มีขนาดความยาวเท่ากัน แต่พื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านกว้างคูณสูงมีขนาดเพิ่มขึ้นทุกๆหนึ่งเซ็นติเมตรตามลำดับ โดยชิ้นที่เล็กที่สุดมีขนาด 1x1 ตารางเซ็นติเมตร ชิ้นที่สองมีขนาด 2x2 ตารางเซ็นติเมตร  ชิ้นที่สามมีขนาด 3x3 ตารางเซ็นติเมตรและชิ้นที่ใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ 10x10 ตารางเซ็นติเมตร
  • เสื่อสำหรับปูพื้น

จุดประสงค์        

  • เพื่อฝึกกล้ามเนื้อและประสาทรับรู้ในการมองเห็นมิติต่างๆ
  • เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาการทำงานประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและกลไกควบคุมการเคลื่อนไหว
  • เพื่อเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ทางอ้อม โดยเด็กจะได้ประสบการณ์ด้านการเปรียบเทียบ การแบ่งกลุ่ม และการเรียงลำดับจากแท่งไม้
  • เพื่อให้เด็กได้รู้จักคำศัพท์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

กลไกควบคุมความผิดพลาด

               การมองเห็นด้วยตาเป็นกลไกควบคุมความผิดพลาดอยู่แล้ว แต่การใช้มือลูบผ่านบันไดขึ้นลงช่วยให้เด็กสัมผัสถึงการสะดุด หรือไม่ต่อเนื่อง เมื่อเรียงลำดับแท่งไม้ไม่ถูกต้อง

คำศัพท์ที่ได้         

               กว้าง ,กว้างกว่า ,กว้างที่สุด, กว้างเท่ากับ,แคบ ,แคบกว่า,แคบเท่ากับ,แคบที่สุด

ระดับอายุ         

               3 ปีขึ้นไป

ข้อเสนอแนะ      

               กิจกรรมนี้เป็นการสาธิตแบบตัวต่อตัวโดยการปูเสื่อกับพื้นห้อง ครูและเด็กช่วยกันยกชิ้นสื่อไปวางที่เสื่อทีละชิ้นอย่างระมัดระวัง จากนั้นครูก็เริ่มเรียงปริซึมไม้เป็นรูปบันไดโดยวางในแนวทแยงมุม (ดังภาพด้านบน) ในการเรียงนั้นให้เริ่มจากไม้ปริซึมที่ใหญ่ที่สุดก่อน และวางในแนวทแยงโดยเริ่มจากมุมบนซ้ายก่อน หลังจากที่ครูสร้างบันไดเสร็จแล้วให้หยุดสักครู่ แล้วจึงค่อยๆรื้อบันไดออกทีละชิ้นโดยวางคละกันไว้ แล้วชักชวนให้เด็กลองสร้างบันไดดูบ้าง สิ่งสำคัญในการจับปริซึมไม้ก็คือ ให้มือทั้งสองจับในด้านกว้างของปริซึมไม้แต่ละด้านเพื่อให้กล้ามเนื้อที่สัมผัสได้รู้สึกถึงขนาดที่แตกต่างกันของปริซึมไม้แต่ละแท่ง
               การเรียงลำดับปริซึมไม้ก็มีค่าเท่ากันกับการเรียงปริซึมไม้ตามลำดับความกว้างของพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านข้าง ครูอาจช่วยให้เด็กเห็นความสัมพันธ์ในการเรียงลำดับเหล่านี้ โดยสาธิตวิธีการลูบฝ่ามือขึ้นและลงตามขั้นบันไดเพื่อให้รู้สึกถึงความชันของขั้นบันไดตามลำดับ ถึงแม้ว่าบันไดแต่ละขั้นจะมีความชันแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ก็จะรู้สึกสะดุดได้ทันทีเมื่อมีการเรียงผิดขั้น

แบบฝึกหัด          

               ชักชวนให้เด็กสร้างบันได เมื่อเด็กสามารถสร้างได้สำเร็จ ครูอาจสาธิตให้เด็กดูความสัมพันธ์ระหว่างปริซึมไม้แต่ละแท่ง โดยการหยิบไม้ปริซึมที่เล็กที่สุดวางไปบนพื้นที่ที่เหลือของบันไดทีละขั้น เมื่อไปถึงขั้นบนสุดให้หยุดพักสักครู่ จากนั้นจับที่ปลายไม้แต่ละด้านแล้วค่อยๆดึงลงตามขั้นบันไดทีละขั้น แล้วทำซ้ำอีกครั้ง

หมายเหตุ       

ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ หรือเห็นว่าค่อนข้างยากเกินไป ครูก็ควรเริ่มจากปริซึมไม้เพียงสี่หรือห้าแท่งก่อนดังนี้

  • ปริซึมไม้ที่เล็กที่สุดเพียงสี่หรือห้าแท่ง
  • ปริซึมไม้ที่ใหญ่ที่สุดเพียงสี่หรือห้าแท่ง
  • ปริซึมไม้จากลำดับใดๆที่เรียงกันเพียงสี่หรือห้าแท่ง

แบบฝึกหัดเพิ่มเติม

               หลังจากที่เด็กสามารถสร้างได้ทั้งหอคอยสีชมพูและบันไดสีน้ำตาลแล้ว เด็กอาจนำอุปกรณ์ทั้งสองชุดมาสร้างร่วมกัน และค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองชุด เช่นความเหมือนและความแตกต่างระหว่างมิติแต่ละด้านของลูกบาศก์และปริซึม และหลังจากที่เด็กสามารถบอกสิ่งที่เค้าค้นพบได้แล้ว ครูควรสอนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง

บันไดสีน้ำตาล

เพิ่มเติมขั้นที่ 1

  • ชักชวนให้เด็กสร้างบันไดสีน้ำตาล
  • บอกให้เด็กหลับตาในขณะที่ครูเอาไม้ออกหนึ่งท่อน
  • นำไม้ท่อนที่ออกมาไว้ข้างหน้าเด็ก
  • ถามเด็กว่าท่อนไม้นั้นควรจะอยู่ตำแหน่งไหน
  • วางท่อนไม้ตามตำแหน่งที่เด็กบอก
  • เด็กสามารถตรวจสอบผลงานของตัวเองได้ด้วยท่อนไม้ชิ้นที่เล็กที่สุด

เพิ่มเติมขั้นที่ 2

               ทำเหมือนขั้นที่ 1 แต่ครั้งนี้ให้ซ่อนท่อนไม้ไว้ด้านหลังครู

เพิ่มเติมขั้นที่ 3

               อธิบายวิธีการคละท่อนไม้ไว้บนเสื่อหน้าห้องแล้วเดินไปหยิบมาสร้างบันไดทีละชิ้น

เพิ่มเติมขั้นที่ 4

               ให้เด็กนำท่อนไม้วางคละกันไว้รอบๆห้อง แล้วไปเลือกไม้ทีละท่อนมาสร้างบันไดบนเสื่อซึ่งวางไว้กลางห้อง

เพิ่มเติมขั้นที่ 5

               ทำกิจกรรมคู่ขนาน โดยส่งเสริมให้เด็กสร้างหอคอยสีชมพูร่วมกับบันไดสีน้ำตาลในแนวนอนเพื่อให้เด็กเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองชุด

เพิ่มเติมขั้นที่ 6

               ทำเหมือนขั้นที่ 5 แต่ให้สร้างในแนวตั้ง

เพิ่มเติมขั้นที่ 7

               สร้างหอคอยสีชมพูเหมือนในภาพ แล้วค่อยๆดึงแท่งลูกบาศก์สีชมพูออกทีละชิ้น

เพิ่มเติมขั้นที่ 8

                เรียนรู้เรื่องเงา โดยสร้างหอคอยสีชมพูและบันไดสีน้ำตาลเหมือนในรูป จากนั้นฉายไฟไปที่หอคอยสีชมพู เพื่อให้เกิดเงาบนบันไดสีน้ำตาล

วัตถุประสงค์:

                เพื่อฝึกกล้ามเนื้อ และพัฒนาประสาทรับรู้ด้านการแบ่งส่วน

คำศัพท์ที่ได้เรียนรู้:

                หนา-บาง, หนากว่า-บางกว่า, หนาที่สุด- บางที่สุด